สภ.สะเมิง Samoeng Police Station ให้บริการประชาชนด้วยความเสมอภาค เป็นธรรมอย่างมีมาตราฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อองค์กรและประชาชนเป็นหลักประกันความยุติธรรม และความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ที่มีมาตรฐานสากล

พ.ต.อ.ธนดล น้อยสุวรรณ
ผกก.สภ.สะเมิง จว.เชียงใหม่




Brand

: ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

Brand

: ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

เกี่ยวกับหน่วยงาน - ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

เกี่ยวกับหน่วยงาน


ผลการปฏิบัติตามนโยบายตำรวจ

ภายใต้การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และกรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน ตามยุทธศาสตร์สานักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๖๔ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ สานักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ โดยให้ถือเป็นนโยบายสำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนให้ปรากฏผลชัดเจน เป็นรูปธรรม ดังนี้ ๑. การพิทักษ์ ปกป้อง และเทิดพระเกียรติเพื่อความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒. การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในสังคม ๓. การป้องกันปราบปรามและลดระดับอาชญากรรม ๔. การแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ ๕. การเร่งรัดขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปองค์กรตำรวจในยุคประชาคมอาเซียน ๖. การเสริมสร้างความสามัคคี และการบำรุงขวัญข้าราชการตำรวจ ๑. การพิทักษ์ ปกป้อง และเทิดพระเกียรติเพื่อความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ๑.๑ ให้ถือว่าการถวายความปลอดภัย เป็นภารกิจสาคัญสูงสุด โดยให้ดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย พ.ศ.๒๕๕๗ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ๑.๒ รณรงค์ เสริมสร้าง และปลูกฝังจิตสานึกของคนในชาติให้มีความจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรม ๑.๓ พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการกระทาที่เข้าข่ายเป็นความผิดต่อสถาบัน รวมถึงการนาเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีลักษณะเนื้อหาไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อสถาบัน และให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างเด็ดขาดทุกราย ๑.๔ กำหนดให้มีการซักซ้อมแผนการปฏิบัติ แผนเผชิญเหตุในการปฏิบัติภารกิจ ด้านการถวายความปลอดภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ๑.๕ ส่งเสริม สนับสนุน และปฏิบัติตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มกำลังความสามารถ ๒. การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในสังคม ๒.๑ พัฒนาระบบงานด้านการข่าว ให้มีการบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานด้านการข่าวทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิด และนาข้อมูลที่ได้รับไปปรับใช้ประกอบการกำหนดแผนการปฏิบัติและมาตรการต่างๆ ๒.๒ พัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของชุดปฏิบัติการพิเศษ ให้กับหน่วยปฏิบัติระดับกองบัญชาการทุกแห่ง รวมตลอดไปถึงหน่วยงานระดับกองบังคับการ ๒.๓ กำหนดมาตรการและขั้นตอนการบริหารเหตุการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ ให้ชัดเจน เป็นระบบ และมีเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยให้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในสถานการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ๒.๔ บังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.๒๕๕๘ รวมตลอดถึงประกาศ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ๒.๕ พัฒนาระบบการตรวจสอบบุคคลเข้า-ออกราชอาณาจักรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันภัยคุกคามต่อความมั่นคง การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบต่างๆ ๒.๖ กำหนดมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวถูกฉ้อโกง เอารัดเอาเปรียบ และเกิดความเชื่อมั่น ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๒.๗ การแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้น้อมนายุทธศาสตร์พระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ผู้นาท้องถิ่น และผู้นาศาสนาในพื้นที่ ๒.๘ การแก้ไขปัญหาการจราจร มุ่งเน้นการให้บริการ เพื่อกอบกู้ภาพลักษณ์ขององค์กร สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน และจัดให้มีการควบคุมและสั่งการจราจรในภาพรวมของพื้นที่ที่มีปัญหาการจราจรติดขัด ให้เป็นแบบบูรณาการสอดประสานกันในแต่ละพื้นที่ ๓. การป้องกันปราบปรามและลดระดับอาชญากรรม พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้กับข้าราชการตำรวจในเรื่องของการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน ความว่า … “ การจับผู้ร้ายนั้นไม่ถือเป็นความชอบ เป็นแต่นับว่าผู้นั้น ได้กระทาการครบถ้วนแก่หน้าที่เท่านั้น แต่จะถือเป็นความชอบต่อเมื่อได้ปกครองป้องกันเหตุร้ายให้ชีวิตและทรัพย์สินของข้าแผ่นดินในท้องที่นั้น อยู่เย็นเป็นสุขพอควร ” ๓.๑ มุ่งเน้นการป้องกันอาชญากรรมเป็นเป้าประสงค์หลัก ด้วยการควบคุมอาชญากรรม ทั้งในมิติของอัตราการเกิดเหตุ และระดับความรุนแรงของการเกิดเหตุ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรมน้อยลง และหากเกิดคดีขึ้น ต้องเร่งจับกุมให้ได้โดยเร็ว ๓.๒ การปฏิบัติงานของตำรวจ ต้องทาให้เป็นหลักประกันด้านความปลอดภัยและความยุติธรรมที่มีมาตรฐาน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ ๓.๓ การควบคุมสถานที่เสี่ยง แหล่งมั่วสุม รวมทั้งแหล่งอบายมุขต่างๆ ให้ดาเนินการตามนโยบายการจัดระเบียบสังคม การปราบปรามการซื้อขายอาวุธปืนผิดกฎหมายอย่างจริงจัง และให้มีการระดมกวาดล้างอาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง ๓.๔ พัฒนาศักยภาพบุคลากร และระบบงาน ของงานสืบสวน งานสอบสวน งานนิติวิทยาศาสตร์ และงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และส่งเสริมสนับสนุนให้นาเทคโนโลยี มาใช้ในการปฏิบัติงานทั้งระบบ ๓.๕ จัดทาฐานข้อมูลด้านการสืบสวน เช่น แผนประทุษกรรม ประวัติผู้ต้องหา หมายจับ เป็นต้น ให้เชื่อมโยงกันทั้งประเทศ และให้ทุกหน่วยสร้างเครื่องมือสืบสวนล่วงหน้าไว้ให้ครบถ้วน เช่น จุดติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด การเชื่อมสัญญาณกล้อง และข้อมูลท้องถิ่นอื่นๆ เป็นต้น ๓.๖ จัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาคนหาย/เด็กหายพลัดหลงและศพนิรนาม เพื่อให้มีการตรวจสอบ ติดตามคนหาย เด็กหายพลัดหลง หรือศพนิรนาม และมีการประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ๓.๗ ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลให้ปรากฏผลชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่นการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การค้ามนุษย์ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น ๔. การแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมิติ ๔.๑ มุ่งเน้นการปราบปรามจับกุมผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ลำเลียงยาเสพติดในทุกระดับ โดยให้มีการซักถาม สืบสวนขยายผลจับกุมเครือข่ายผู้ร่วมขบวนการดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ทุกราย ตามมาตรา ๑๐๐/๒ แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ๔.๒ ดำเนินการตามมาตรการสมคบ มาตรการทางทรัพย์สิน ทั้งการยึดทรัพย์ และการฟอกเงินกับผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามกฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อทาลายเส้นทางทางการเงินของเครือข่ายขบวนการลักลอบผลิตและค้ายาเสพติด ๔.๓ จัดระบบการเร่งรัดสืบสวนติดตามจับกุมบุคคลตามหมายจับในคดียาเสพติด โดยให้มอบหมายข้าราชการตำรวจสืบสวนติดตามจับกุมตามหมายจับแต่ละหมายให้ชัดเจน และให้ผู้บังคับบัญชาควบคุม กำกับดูแล และติดตามความคืบหน้าทุกระยะ ๔.๔ มุ่งเน้นการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงขนส่งยาเสพติดจากพื้นที่ตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลำเลียงยาเสพติดเข้าไปพื้นที่ชั้นใน หรือแหล่งชุมชน รวมทั้งสถานศึกษาต่างๆ ๔.๕ ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรม โครงการด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน สถานศึกษา และสถานประกอบการต่างๆ เพื่อตัดวงจรการค้ายาเสพติด และไม่ให้มีผู้เสพรายใหม่เกิดขึ้น ๔.๖ เสริมสร้างความร่วมมือกับนานาประเทศในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทย ๔.๗ ดำเนินการทั้งทางอาญา ทางวินัย และทางปกครองกับข้าราชการตำรวจที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับยาเสพติดอย่างเด็ดขาด ๕. การเร่งรัดขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปองค์กรตำรวจในยุคประชาคมอาเซียน ๕.๑ ปรับรื้อระบบงานของตำรวจทั้งระบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการบริหารงานทั้งระบบ ๕.๒ พัฒนาศักยภาพของข้าราชการตำรวจให้มีความรู้ ทักษะทางภาษาอังกฤษ ภาษาอื่นๆ ของประเทศสมาชิกอาเซียน และปรับปรุงภูมิทัศน์ ป้ายอาคาร สถานที่ทำการ รวมตลอดถึงยานพาหนะต่างๆ ของตำรวจให้มีรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานสากล ๕.๓ สร้างเครือข่ายในทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของตำรวจ ๕.๔ จัดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและกำหนดช่องทางในการประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานด้านความมั่นคงของต่างประเทศ เพื่อร่วมกันหยุดยั้งภัยคุกคามจากอาชญากรรมทุกรูปแบบ ๕.๕ ผลักดันให้จัดส่งข้าราชการตำรวจไปทำหน้าที่ผู้ประสานงานประจำสถานทูตต่างๆ ให้ครอบคลุมประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศอื่นๆ ๕.๖ การให้บริการประชาชน ต้องเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.๒๕๕๘ ๕.๗ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในยุคประชาคมอาเซียนตามนโยบายของรัฐบาล ๖. การเสริมสร้างความสามัคคี และการบำรุงขวัญข้าราชการตำรวจ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๙ ความว่า … “สามัคคี คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทางานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้น คือความมั่นคงของบ้านเมือง” ๖.๑ พัฒนาคุณภาพชีวิตตำรวจให้มีความสุขในการปฏิบัติงาน ปรับสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จาเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เพียงพอ โดยไม่ให้เป็นภาระของข้าราชการตำรวจต้องนาเงินส่วนตัวไปจัดซื้อจัดหามาใช้ในราชการกันเอง ๖.๒ ปรับปรุงสวัสดิการของตำรวจ เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน โครงการอาหารกลางวัน การรักษาพยาบาล และสถานที่พักอาศัย เป็นต้น เพื่อให้ตำรวจมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอยู่ได้อย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี ๖.๓ ให้มีการจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมและเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง ๖.๔ จัดให้มีศูนย์ให้คำปรึกษา แนะนา ช่วยเหลือข้าราชการตำรวจที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครอง และทางวินัย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติราชการ ตามอำนาจหน้าที่

57 หมู่ที่ 10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250
โทรศัพท์ : 053-487091   โทรสาร : 053-487090
---------------------------------------------
Copyright @ 2016. Department of ICT POLICE, Chiang Mai Provincial Police.

^Top